ประวัติข้าวแคบโอท็อปพาน

ข้าวแคบทอด

ที่เรียกว่าข้าวแคบนั้นเรียกตามลักษณะของปากหม้อที่ทำข้าวแคบตอนไล้แป้งซึ่งมีลักษณะแคบ แต่เดิมนั้นข้าวแคบมี 2 ลักษณะคือ” ข้าวแคบธรรมดาและข้าวแคบงา” รสชาติออกเค็ม มีส่วนผสมแค่แป้ง เกลือ และงาดำเท่านั้น เวลาจะรับประทานข้าวแคบในสมัยก่อนจะนำไปปิ้งไฟ
ข้าวแคบเป็นทั้งอาหารคาวและอาหารหวานของชาวล้านนาที่ทำจากแป้งนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วก็จะนำไปรับประทานด้วยการปิ้งหรือทอด ข้าวแคบมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำจากแห้งข้าวเหนียวมีลักษณ์เป็นแผ่นเล็ก ๆ มีรสชาติเค็ม และชนิดนี้จะมีการเพิ่มสีสัน รวมทั้งรสชาติด้วยการเติมงาดำลงไปขณะละเลงแป้งลงบนปากหม้อ

ปัจจุบันข้าวแคบแทบไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่เท่าไหร่นัก เนื่องจากข้าวแคบเป็นอาหารพื้นเมืองที่มีมาตั้งแต่โบราณ อีกทั้งเป็นอาหารที่นิยมในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานบวช งานปอย โดยได้นำมาใส่ถุงขนมรวมกับ ข้าวแดง และข้าวแต๋น (ขนมนางเล็ด) ข้าวแคบเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในเรื่องการถนอมอาหาร
“คนสมัยก่อนจะมีลูกหลายคน ข้าวแคบหนึ่งพวงสามารถแบ่งให้ลูกกินได้หลายคน เมื่อแม่กลับจากตลาด ลูกๆ จะพากันกรูเข้ามาดุว่าแม่ซื้ออะไรมาบ้าง มีขนมอะไรบ้าง ข้าวแคบเป็นขนมที่ทำกินกันในฤดูหนาว นั่งผิงไฟไปด้วยปิ้งข้าวแคบไปด้วย แล้วแจกลูกหลานที่นั่งอยู่รอบกองไฟ ข้าวแคบที่ปิ้งใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอมมาก คนล้านนายังนิยมรับประทานข้าวแคบในงานปอยหลวง ขึ้นบ้านใหม่ หรืองานแต่งงาน เอาไว้รับประทานเป็นของว่าง นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมอื่นๆ รอบกองไฟด้วย เช่น แกะเมล็ดถั่วและกระเทียม เพื่อนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ เพาะปลูกในฤดูหนาว

Published in: on ธันวาคม 16, 2010 at 3:23 am  ให้ความเห็น  

สาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ OTOP พาน

           ข้าวแคบเป็นขนมขบเคี้ยวประจำเทศกาลปี๋ใหม่เมืองของชาวเหนือ งานบวชลูกแก้ว งานปอยหลวง
           มีลักษณ์คล้ายกับข้าวเกรียบว่าว แต่แผ่นเล็กกว่าและมีรสเค็มเล็กน้อย ทำจากแป้งข้าวเหนียวเป็นแผ่นหนากว่ามีรสเค็มและมีขนาดเล็กกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว ปัจจุบันผู้ทำข้าวแคบบางคนอาจปรุงรส เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หรือ หวานเล็กน้อย ลงไปก่อนที่จะทำให้สุกเป็นแผ่น
           แผ่นตากให้แห้ง จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP พาน ที่จะสามารถสร้างชื่อเสียงได้โดยการจำหน่ายเป็นของฝากที่เป็นจุดเด่นที่ต้องมีประจำเทศกาลปี๋ใหม่เมืองเท่านั้น

    
“ข้าวแคบ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ “ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง” เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “ข้าวแคบ”เป็นของกินชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวที่มักใช้เป็นของรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ ใน 1 ปีจะทำเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่สภาพอากาศที่ร้อนและมีแดดแรง ซึ่งถือว่าเป็นสภาพอากาศที่เหมาะกับการทำข้าวแคบ
          ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมควรอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันอนุรักษณ์และสืบทอดเอาไว้ไม่ให้สูญหายไปโดยการทำให้เป็นที่รู้จักโดยการทำเป็นสินค้า OTOP ของอำเภอพาน

          

Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 8:10 am  ให้ความเห็น  

การเตรียมขุดเตาสำหรับทำข้าวแคบ

   การขุดเตาต้องมีปล่องสำหรับระบายควันขนาดพอเหมาะกับเตา ซึ่งจะอยู่ด้านตรงข้ามกับ
ปากเตาที่เราจะก่อไฟ ความกว้างของเตา 2ศอกความลึก ศอกครึ่งความยาวประมาณ 2 
เมตรครึ่งลักษณะของเตาจะเป็นคล้ายถ้ำที่มีปากปล่องเล็ก ๆ และมีรูสำหรับใช้
ตั้งถังต้มน้ำด้านบนเตาโดยต้องทำให้แข็งแรงรับน้ำหนักได้
ลักษณะของเตาข้าวแคบ
Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 7:45 am  ให้ความเห็น  

อุปกรณ์การทำข้าวแคบ

การแช่ข้าวเหนียวเตรียมทำแป้งข้าวแคบ
อุปกรณ์ในการทำแป้งข้าวแคบ

1.ข้าวเหนียว (ที่ทำการแช่และเป็นข้าวที่ซาวแล้ว)
2.เกลือป่น
3.งาดำ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำข้าวแคบ

1. โม่หิน
2. หม้อใส่แป้งที่โม่แล้ว
3. ช้อนตักข้าวเหนียว
4. กาละมังใส่น้ำ
5. ไม้พายช้อนข้าวแคบออกจากเตา
6. แผ่นหญ้าคา
7. เตาข้าวแคบ
8. ฟืนใหญ่ใช้ก่อไฟ
9. ผ้าที่วางปากหม้อ
10. ถังต้มน้ำ
11. กาละมังที่มีรูตรงก้น
12.ผ้ารัดระหว่างกาละมังกับถังต้มน้ำ
13.ไม้ช้อนแผ่นข้าวแคบ

Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 7:44 am  ให้ความเห็น  

ขั้นตอนในการทำข้าวแคบ

๑. ล้างข้าวสารเหนียวให้สะอาด แช่ไว้ 1 คืน

๒. ล้างข้าวสารเหนียวที่แช่แล้วอีกครั้งหนึ่ง และนำมาโม่ด้วยโม่หิน จะได้แป้งสำหรับทำข้าวแคบ

๓. ผสมงาดำและเกลือลงในน้ำแป้ง ผสมน้ำสะอาดให้พอเหลว คนให้เกลือละลาย

๔. การเตรียมเตาและหม้อ(ถ้าเป็นหม้อดินจะดีกว่า) ตั้งเตา(เตาถ่ายจะดีมาก)ตั้งหม้อใส่น้ำ วางหม้อ เติมน้ำ ปากหม้อขึงผ้าขาวบางให้ตึง ตั้งไฟจนน้ำเดือดให้มีไอน้ำผ่านขึ้นมา เจาะรูผ้าขาวบางปากหม้อประมาณ ๒ นิ้ว เพื่อให้ไอน้ำผ่าน

๕. ละเลงแป้งลงบนผ้าเป็นแผ่นวงกลมตามที่ต้องการ พอแป้งสุก

         ใช้ไม้พายช้อนขึ้นวิธีทำแผ่น-คลุมหม้อด้วยผ้าขาวบาง ตั้งน้ำให้เดือด ละเลงแป้งลงบนผ้าเป็นแผ่นวงกลม-พอแป้งสุก ใช้ไม้พายช้อนขึ้น-วางแป้งลงบนแผ่นหญ้าคา ทำต่อเรื่อยๆ จนเต็ม-ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1 วัน

๖. วางแป้งลงบนแผ่นหญ้าคา ทำต่อเรื่อยๆ จนเต็ม ตากแดดให้แห้งการทานข้าวแคบ มีวิธีการที่ง่าย ๆ ด้วยการนำข้าวแคบที่ทำเสร็จแล้ว มาย่างไฟอ่อน ๆ จนเหลืองพองาม กินเป็นอาหารว่างหรือรองท้องก่อนถึงเวลาอาหารมื้อหลัก บางแห่งเข้าอาจจะไม่ย่างแต่นำไปทอดก็ได้แล้วแต่สะดวก

 ๑. การใช้แผ่นหญ้าคา วางข้าวแคบที่ละเลงสุกใหม่ ทำให้แป้งข้าวแคบแกะออกได้ง่าย

๒. ข้าวเหนียวที่ใช้เป็นข้าวเม็ดหัก หรือเรียกว่า “ข้าวต่อน” จะทำให้โม่ละเอียดง่าย

เกร็ดความรู้ภูมิปัญญา
       สำหรับผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงอยู่ไฟจะนิยมกินข้าวแคบเป็นอาหาร หลักด้วยมีความเชื่อว่า ข้าวแคบเมื่อทานแล้วจะไม่เกิดผลข้างเคียงในขณะอยู่ไฟ

 
Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 7:37 am  ให้ความเห็น  

สีของข้าวแคบ (ผลิตภัณฑ์ OTOP พาน)

สีของข้าวแคบสามารถทำได้หลายสีอาจได้มาจากสีของสมุนไพร
กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ OTOPพาน มักให้ส่วนผสมส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ
และมีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งหาได้ง่ายและสะดวกในการคิดสีต่าง ๆ รวมไปถึงส่วนใหญ่
ยังเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์กับสุขภาพของผู้บริโภคและให้ความสำคัญ
คำนึงถึงความสะอาดเป็นหลักด้วย จึงเรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลักดันเป็น
OTOPพาน ที่เป็นที่รู้จักและสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอพาน หมู่บ้านโป่งทวีได้ด้วย
• สีม่วง : ได้มาจากสีของดอกอัญชัน
ดอกอัญชัน

สรรพคุณของดอกอัญชัน
ใช้น้ำดอกอัญชันมาผสมในแป้งข้าวแคบในปริมาณที่พอเหมาะ จะให้สีม่วง
ดอก รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง
 เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน
เมล็ด เป็นยาระบาย
ใบและราก
อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ
ผักปรังจะให้สีออกชมพู
ผักปรัง
ผักปรัง เป็นไม้เลื้อย มียางเหนียว เม็ดแก่จะมีสีม่วงดำ นำไปใช้แทนสี
ใส่อาหารได้จะได้สีม่วง
กินได้ทั้งใบ ยอด ดอก เม็ดอ่อน
สรรพคุณของผักปรังและวิธีใช้
ใบและยอด อ่อน : ให้แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และมีใยอาหาร ช่วยระบาย
     หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน น้ำคั้นจากใบสดแก้ผื่นแดง แผลสดและแก้ฝี
ใบแก่: ใช้แก้กลาก
ดอก: ใช้แก้เกลื้อน หากคั้นน้ำจากดอกของผักปลังซึ่งมีเมือกมากมาทาช่องคลอด
    จะช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้น
     สำหรับน้ำคั้นจากผลสุกของผักปลังจะมีสีม่วงแดง ซึ่งเป็นสารจำพวกแอนโทไซยานิน
     จึงสามารถใช้แต่งสีอาหารและขนมได้
ราก: ใช้แก้รังแคและโรคมือเท้าด่าง แก้ท้องผูก
ต้น: ใช้แก้ฝีดาษ แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ ใช้รักษาอาการแน่นท้อง
     ระบายท้อง
ก้าน: ใช้แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึก แก้ท้องผูก และลดไข้
ข้าวก่ำข้าวเหนียว
ข้าวก่ำ หรือข้าวเหนียวดำ(เป็นข้าวพื้นบ้านของทางล้านนา)
(เมื่อนำมาโม่แล้วจะให้ข้าวแป้งเป็นสีม่วง)
ลักษณะเด่นคือ มีสีม่วงดำทั้งลำต้นและเมล็ด ส่วนใหญ่มักนำมาบริโภคเป็นขนม หรือของหวาน
 โดยมีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติทางยา จากภูมิปัญญาของชาวล้านนาใช้ประโยชน์จากข้าวก่ำ
 หลายๆ ด้าน
คุณสมบัติทางยา
-ใช้เพื่อป้องกันการตกเลือดในสตรีหลังคลอด
-ใช้รักษาอาการท้องร่วง โรคผิวหนังได้อีกด้วย
     ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นไได้มีการสกัดสารสำคัญในน้ำมันรำข้าวคือ แกมมาโอไรซานอล
ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และนำมาผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
 เครื่องสำอางในการรักษาสุขภาพ ชะลอความแก่
     ปัจจุบันนี้ “หน่วยวิจัยข้าวก่ำ”(Purple Rice Research Unit-PRRU)
คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการวิจัย พบว่าข้าวก่ำสายพันธุ์ที่สร้างขึ้นนี้
ประกอบด้วย แกมมาโอไรซานอลสูงกว่าข้าวขาวถึง 2 – 3 เท่า นอกจากนี้
ยังพบว่าสารสีที่พบในข้าวก่ำ คือ โปรแอนโธไซยานิดิน และสารแอนโธไซยานิน
ในข้าวพันธุ์นี้มีสูงกว่า 8 – 16 เท่า เมื่อเทียบกับข้าวก่ำสายพันธุ์ปกติ
      นอกจากนี้ยังพบว่ามี วิตามิน อี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่สูง
ซึ่งสารกลุ่มนี้มีสูงกว่าในข้าวทั่วไปงานวิจัยยังพบอีกว่าเมื่อแกมมาโอไรซานอล
ได้ทำงานร่วมกับแอนโธไซยานินจะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการเป็นสาร
ต้านอนุมูลอิสระ สารชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดระดับโคเลสเตอรอล
 ป้องกันการเกิดมะเร็งโรคอ้วน ความดัน โรคหัวใจ และความจำเสื่อม
จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
รวมทั้งผู้ที่มักได้รับการปนเปื้อนจากอาหารทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
 และคนที่งานที่ต้องเผชิญกับปัญหาความเครียด
 ที่เหมาะที่จะบริโภคข้าวก่ำเพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
ด้วยสรรพคุณทาง “แอนโทไซยานิน” และ “แกมมาโอซานอล” ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
 ลดคลอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเส้นเลือดยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
กระเพาะอาหารยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ฯลฯ
 
• สีเหลือง: ได้มาจากสีของดอกคำฝอย
ดอกคำฝอย

สรรพคุณ : ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
•เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
•เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
•น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
•ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
• สีส้ม: ได้มาจากสีของแครอท
แครอท
สรรพคุณของแครอท
ใช้น้ำแครอทมาผสมในแป้งข้าวแคบที่โม่แล้วจะให้สีส้ม
อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวและ เนื้อเยื่อ
 ช่วยยับยั้งความเสื่อมของ อวัยวะสำคัญของร่างกาย
และเกลือแร่ มีความเชื่อว่า แครอทช่วยรักษา โรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยง
จากโรค เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก
และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานเร่งการสร้างเซลล์ในแผลผ่าติด
         นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยวิตามินบี วิตามินซี และแคลเซียมที่ดูดซึมง่าย
มีแพคตินซึ่งเป็นไฟล์เบอร์
ชนิดที่ละลายน้ำได้ ช่วยลดโคเลสเตอรอล วิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่
 มีบทบาท สำคัญ ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
      เหล่านี้สามารถดัดแปลงได้อีกโดยอาจใช้สีจากธรรมชาติ
โดยไม่ต้องใช้สีผสมอาหาร เรียกได้ว่าไม่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค
และเป็นขนมขบเคี้ยวที่มีราคาไม่แพง
Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 7:35 am  ให้ความเห็น  

วิธีการทานข้าวแคบ

อาจทำให้ 2 วิธี ดังนี้
1. นำไปปิ้งในไฟอ่อน โดยต้องหมั่นกลับด้านไปมาตลอด แล้วให้เหลืองเสมอกันจึงถือว่าสุกแล้ว
2. นำไปทอดในน้ำมันเดือด เมื่อทอดให้สักเกตว่าแผ่นข้าวแคบจะฟูออก ไม่ต้องทอดนาน
มาก โดยให้ฟูเล็กน้อยจึงตักพักไว้และซับมันออกรอให้เย็นก็สามารถรับประทานเป็นของขบเคี้ยวได้เลย

Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 7:32 am  ให้ความเห็น  

คลังภาพผลิตภัณฑ์ข้าวแคบ (OTOP พาน)

 
OTOP  พาน ข้าวแคบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการสนับสนุนและผลักดันให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของบ้านโป่งทวี ตำบลทรายขาว
วิธีการทำแป้งข้าวแคบ
ลักษณะข้าวแป้งที่โม่
ข้าวแป้งทำโม่และผสมแล้ว
ลักษณะเตาข้าวแคบ
การละเลงแป้งข้าวแคบ
การละเลงแป้งต้องทำเป็นรูปวงกลมละเลงแป้งให้เสมอกัน
การช้อนข้าวแคบออกจากเตา

การแผ่ข้าวแคบไว้บนแผ่นคา

แผ่นข้าวแคบที่พร้อมจะนำไปตาก

การตากข้าวแคบข้าวเหนียว

ข้าวแคบข้าวเหนียว

ข้าวแคบที่ตากเสร็จแล้ว

ข้าวแคบข้าวก่ำ

ข้าวแคบที่ตากเสร็จแล้ว

ลักษณะของแผ่นข้าวแคบจะบาง

ลักษณะของแผ่นข้าวแคบ

ข้าวแคบที่ปิ้งแล้วจะมีสีเหลืองนวล

Published in: on ธันวาคม 8, 2010 at 6:37 am  ให้ความเห็น